วิธีการกระโดดเชือก Jump rope และข้อผิดพลาดที่ควรระวัง

กระโดดเชือกดียังไง

  • หัวใจแข็งแรง
  • เผาผลาญแคลลอรี่
  • เป็นท่าพื้นฐานในการกระโดดแบบ double under คือกระโดด 1 ครั้งหมุนเชือกได้สองรอบ
  • เป็นท่าสำหรับผู้เริ่มออกกำลังกาย หรือใช้ในการ warm up เพื่อให้เลือกสูบฉีดและเคลื่อนไหวร่างกาย

กระโดดเชือกอย่างไร

  1. ปรับเชือกให้มีความยากจากลักแร้ถึงเท้า และจากเท้ามาถึงรักแร้
  2. จับหัวเชือกโดยการกำด้ามจับหลวมๆ และให้นิ้วชี้ยืนออกมาเพื่อใช้ในการควบคุมจับหวะการกระโดด
  3. ยืนตรง วางเชือกไว้ด้านหลัง แขนชิดลำตัว
  4. สะบัดเชือกมาด้านหน้าโดยใช้ข้อมือสะบัด แล้วกระโดด
    การกระโดดขึ้น หัวเข่าต้องไม่พับ ลำตัวตรง
    การกระโดดลง หัวเข่าย่อมารับนำ้หนักนิดหน่อย ลำตัวยังคงตรง
  5. กระโดดขึ้นลงจนเป็นจังหวะ

ขั้นตอนที่ 1
วิธีจับ

Jump Rope กระโดดเชือก
  • จับเชือก โดยให้นิ้วชี้กางออกมา เพื่อให้ในการสะบัดข้อมือ

ขั้นตอนที่ 2
ท่าเตรียมและท่าจบ

Jump Rope กระโดดเชือก
  • ยืนลำตัวตรง หลังตรง

  • เท้าชิดเข้าหากัน

  • แขนแนบลำตัว

  • ถือเชือกกระโดด พาดไว้ด้านหลัง

ขั้นตอนที่3
กระโดดขึ้น-ลง

Jump Rope กระโดดเชือก
  • ใช้ข้อมือสะบัดเชือกมาด้านหน้า

  • กระโดดขึ้นสะบัดเชือกลอดเท้าไปด้านหลัง

  • กระโดดขึ้นลงบนปลายเท้า

Jump Rope กระโดดเชือก

1 ข้อผิดพลาดที่

  • กระโดดลงปลายเท้า หัวเข่าไม่พับ

  • กระโดดขึ้นให้เชือกลอดผ่านลำตัวไปด้านหลังโดยการพับเข่า

  • การกระโดดเพื่อให้เชือกลอดลำตัวไปด้านหลังโดยการกระโดดพับหัวเข่า จะทำให้น้ำหนักตกลงบนหัวเข่า ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ เราควรกระโดดขึ้นละลงบนปลายเท้า โดยช่วงกระโดดลงให้หัวเข่างอเล็กน้อยขณะที่ปลายเท้าแตะกับพื้นเพื่อรับน้ำหนักที่ดี

Jump Rope กระโดดเชือก

2 ข้อผิดพลาดที่

  • แขนแนบกับลำตัว

  • แขนกางออก

  • การที่แขนกางออกจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมจังหวะการกระโดดให้เร็วหรือช้าได้ การที่แชนแนบลำตัวเพื่อให้เราสามารถใช้ข้อมือในการสะบัดเพื่อควบคุมจังหวะในการกระโดดไม่ว่าเร็วช้าหรือทำ double under